|
||||
สเปกตรัมของแสงขาว (colors of visible light)400-800 nm ถ้านัยน์ตาถูกกระตุ้นด้วยแสงตลอดทั้งช่วงความยาวคลื่น (400-800 nm) ผลก็คือจะมองเห็นแสงนั้นเป็นแสงขาว แต่ถ้าคลื่นแสงถูกดูดกลืนแสงไปบางส่วน แสงที่ตามองเห็นจะเป็นสีผสม (complementary) หรือสีที่อยู่ตรงข้ามของสีที่ ถูกดูดกลืนเมื่อเทียบตามวงล้อสี
ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงที่ถูกดูดกลืนกับสีของสารที่มองเห็นมี
ประโยชน์สำหรับใช้ในการทำนายว่าสารประกอบที่มีสีจะดูดกลืนแสงที่มี ความยาวคลื่นในช่วงใด ยกตัวอย่างเช่น สารประกอบ iron(III)thiocyanate หรือ Fe(SCN)2+ เป็นสารละลายที่มีสีแดง อาจทำนายได้ว่า Fe(SCN)2+ ดูดกลืนแสง ในช่วงแสงสีน้ำเงิน-เขียว (470-500 nm) ดังนั้นในการวิเคราะห์ปริมาณ Fe(SCN)2+โดยวิธีทางสเปกโทรสโคปี จึงต้องเลือกใช้ความยาวคลื่นในช่วง 470-500 nm |
ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นแสงที่ถูก
ดูดกลืนกับสีของสารที่มองเห็น
ความยาวคลื่น (nm)
|
สีที่ถูกดูดกลืน
|
สีที่มองเห็น
|
380-420
|
ม่วง
|
เขียว-เหลือง
|
420-440
|
ม่วง-ฟ้า
|
เหลือง
|
440-470
|
น้ำเงิน
|
ส้ม
|
470-500
|
เขียว-น้ำเงิน
|
แดง
|
500-550
|
เขียว-เหลือง
|
ม่วง
|
550-580
|
เหลือง
|
ม่วง-น้ำเงิน
|
580-620
|
ส้ม
|
น้ำเงิน
|
620-780
|
แดง
|
เขียว-น้ำเงิน
|
คุณสมบัติของแสง
แสงจะมีคุณสมบัติที่สำคัญ
4 ข้อ ได้แก่
1) เดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear
propagation)
2) การหักเห (Refraction)
3) การสะท้อน (Reflection)
4) การกระจาย (Dispersion)
การเดินทางเป็นเส้นตรง
การเดินทางแสงเป็นเส้นตรง
ในตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเห (refractive index ; n) ของแสงเท่ากัน
แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงโดยค่าดัชนีการหักเหของแสง หรือ ค่า n สามารถหาได้จาก
n คือ
ดัชนีหักเหของแสงในตัวกลางนั้น ๆ
c คือ ความเร็วแสงในสุญญากาศ
v คือ
ความเร็วแสงในตัวกลางนั้น ๆ
การหักเห
เมื่อแสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง
แสงบางส่วนสะท้อนกลับไปในตัวกลางเดิม ส่วนแสงที่เหลือจะหักเหเข้าไปในตัวกลางใหม่
ในการหักเหความถี่ของแสงก่อนและหลังการหักเหเท่าเดิมเสมอ
แต่แสงจะมีความเร็วลดลงเมื่อเคลื่อนที่เข้าไปในตัวกลาง
ดังนั้นเราจึงเราจึงทราบได้ว่า ความยาวคลื่นจะต้องเปลี่ยนไปเป็นสัดส่วนกับความเร็ว
ส่วนทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงนั้นส่วนมากแล้วจะเปลี่ยนเมื่อเทียบกับทิศทางเดิม
ยกเว้นกรณีเดียวคือ กรณีที่มุมตกกระทบเป็นศูนย์ (คือแสงส่องไปเลยตรงๆ)
สมการที่ใช้ในการอธิบายเรื่องการหักเหของแสงคือกฎของสเนลล์
ดังนี้
n1 คือดัชนีหักเหของตัวกลาง 1
Ɵ1 คือมุมตกกระทบ
Ɵ2 คือมุมหักเห
การสะท้อน
เมื่อแสงเดินทางไปเจอขอบเขตระหว่างตัวกลางสองตัวกลาง
แสงบางส่วนสะท้อนกลับ และบางส่วนก็จะเคลื่อนที่ต่อไปนตัวกลางถัดไป
โดยกฎการสะท้อนของแสงดังนี้
1. เส้นปกติ รังสีตกกระทบ
และรังสีสะท้อนอยู่ในระนาบเดียวกัน
2. มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน
เส้นปกติ (Normal Line) คือ เส้นที่ลากขึ้นมาตั้งฉากกับผิวการสะท้อนนั่นเอง
ส่วนมุมตกกระทบกับมุมสะท้อนนั้น เวลาวัดมุมให้วัดเทียบกับเส้นปกติเท่านั้น
การสะท้อนของแสงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การสะท้อนแบบปกติ (Regular
reflection) จะเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุที่มีผิวเรียบมัน
2. การสะท้อนแบบกระจาย (Diffuse
reflection)จะเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบวัตถุที่มีผิวขรุขระ
โดยการสะท้อนของแสงไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตามจะต้องเป็นไปตามกฎการสะท้อนของแสงที่ว่า"มุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ"
การกระจาย
แสงที่เราเห็นในธรรมชาติทุกๆวันเป็นแสงอาทิตย์และแสงจากหลอดไฟ
เป็นแสงขาว (white light) โดยแสงขาวที่ประกอบด้วยแสงสีต่างๆได้แก่
ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เมื่อผ่านแสงเข้าไปในตัวกลาง
ที่ยอมให้แสงผ่านได้ เช่น แก้ว หรือน้ำ จะเกิดการหักเหของแสงขึ้น ทั้งนี้
สารชนิดเดียวกันจะมีดรรชนีหักเหของแสงขึ้นอยู่ กับแสงสีต่างๆไม่เท่ากันดังนั้นเมื่อแสงผ่านเข้าไปในอุปกรณ์เช่น
ปริซึม(Prism) ซึ่งก็จะเห็นแสงกระจายออกเป็นสีต่างๆ
และเรียก แสงที่การกระจายออกมาจากแสงขาวว่าสเปกตรัมของแสงขาว
จากรูปเมื่อฉากแสงขาวผ่านปริซึมและทำให้แสงขาวนั้นกระจายออกเป็นสีต่างมุมในรูปเรียกว่ามุมเบี่ยงเบนสังเกตได้ว่ามุมของแสงสีแดงจะมีค่าน้อยที่สุด และมุมเบี่ยงเบนของสีม่วงมีค่ามากที่สุด
การสะท้อนกลับหมดเป็นกรณีพิเศษหนึ่งที่แสงเดินทางจากตัวกลางหมายเลข
1 ที่มีดัชนีหักเหมากไปตัวกลาง
2 ที่มีดัชนีหักเหน้อย
แสงจะแบนออกจากเส้นปกติ แต้ถ้ามันเบนออกไปมากจนเกิดกรณีว่ามุมหักเหเป็นมุมฉาก
เราจะเรียกมุมตกกระทบที่ทำให้มุมหักเหเป็นมุมฉาก ว่ามุมวิกฤต (Ɵc)
จากนั้นถ้าแสงตกกระทบด้วยมุมที่มากกว่ามุมวิกฤตแล้ว
จะเกิด“การสะท้อนกลับหมด”นั่นคือแสงทั้งหมดเกิดการสะท้อนกลับหมด
และไม่เกิดการหักเห
จากกฎของสเนลล์
ให้แสงเดินทางจากตัวกลางหนึ่งไปสอง
(n1>n2) ที่มุมวิกฤต Ɵ1= Ɵcจะได้ว่า Ɵ2= 90o
ดังนั้น n1sinƟc=
n2sin90 ํ
จัดรูปได้ดังต่อไปนี้
หลักการนี้สามารถนำไปประยุกต์ทำเป็นใยแก้วนำแสงได้
โดยสร้างใยแก้วเป็นสองชั้นทีมีดัชนีหักเหแสงต่างกัน ชั้นในเป็นส่วนที่ให้แสงเดินทางเข้ามา
จึงมีดัชนีหักเหแสงสูง ส่วนชั้นนอกมีหน้าที่สะท้อนแสงกลับ จึงมีดัชนีหักเหแสงต่ำ
แสงที่ถูกส่งเข้ามาจะเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ขอบเขตกั้นระหว่างส่วนชั้นในกับชั้นนอก
ดังนั้นแสงจะสามารถถูกส่งไปมาตามชั้นในของเส้นใยได้
ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์ของใยแก้วนำแสงมีด้วยกันมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นทางการสื่อสารโดยใช้ใยแก้วนำแสงในการส่งข้อมูล เช่น
สัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือในทางการแพทย์ที่ใช้ใยแก้วส่องอวัยวะภายในของผู้ป่วย
เป็นต้น